ยูเนสโก ชื่นชม กสศ. จัดเวทีประชุมนานาชาติด้านการศึกษา เดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำ - Siam Highlight

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Friday, July 3, 2020

ยูเนสโก ชื่นชม กสศ. จัดเวทีประชุมนานาชาติด้านการศึกษา เดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำ


ผู้อำนวยการยูเนสโก ขอทั่วโลกเดินหน้ายกระดับปฎิรูประบบการศึกษา มุ่งสู่เป้าหมาย All For Education พร้อมชื่นชมความพร้อมของ กสศ. เป็นเจ้าภาพจัดเวทีการประชุมนานาชาติด้านการศึกษา


เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 นายชิเงรุ อาโอยากิ ผู้อำนวยการยูเนสโก ประจำประเทศไทย กล่าวถึงการจัดประชุมนานาชาติครั้งใหญ่ด้านการศึกษา ภายใต้หัวข้อ EQUITABLE EDUCATION: ALL FOR EDUCATION ของกสศ. ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 กรกฎาคม 2563 นี้ โดยระบุว่า การประชุมดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญ นักเคลื่อนไหว และหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับด้านแวดวงการศึกษา จะมารวมตัวกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพิจารณาหารือแนวทางในการยกระดับปฎิรูประบบการศึกษาทั่วโลกให้มีความเสมอภาคเท่าเทียมทั่วถึงทุกคน ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่นานาประเทศได้ร่วมลงนามข้อตกลงร่วมกันเมื่อ 30 ปีที่แล้ว สำหรับความพิเศษของการประชุมในครั้งนี้ก็คือการเปลี่ยนผ่านกรอบแนวคิดทางการศึกษา จาก Education for All ไปสู่ All for Education เพื่อให้สอดรับสอดคล้องกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และมีความละเอียดซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

"ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจและสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทำให้มีประเด็นปัญหาเพิ่มมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ ปัญหาผู้อพยพลี้ภัย ปัญหาขัดแย้งตามแนวชายแดน ปัญหาจำนวนประชากรที่ขยายตัว อย่างรวดเร็ว วิกฤตความมั่นคงทางอาหารและน้ำ และล่าสุด คือวิกฤตการระบาดของไวรัส COVID-19 ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นล้วนมีความเชื่อมโยงที่จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงการศึกษาของคนทุกเพศทุกวัยทั่วโลก ดังนั้นทาง UNESCO พร้อมด้วยความเห็นชอบจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนกรอบแนวคิดเพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโลกที่เกิดขึ้น” ผู้อำนวยการ UNESCO ประจำประเทศไทย กล่าว

นายชิเงรุ กล่าวต่อว่า สำหรับความแตกต่างของการเปลี่ยนผ่านจาก Education for All ไปสู่ All for Education ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ประการแรกคือการเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นการมอบการศึกษาไปสู่การคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียนให้มากขึ้น ทำให้ความหมายของการศึกษา หมายรวมถึง "All" หรือ ทุกฝ่ายอย่างแท้จริง และ ทำให้ All for Education ได้รวมเอาความคิดเรื่องความยืดหยุ่นและความเสมอภาค เข้ามาสู่ระบบการศึกษาได้อย่างแท้จริง ส่วนความแตกต่างประการที่สองก็คือ All for Education ยังเป็นการเรียกร้องให้ระบบการศึกษา มีเนื้อหาที่ครอบคลุมและแข็งแกร่งมากขึ้น ภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมในการดึงเอาทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร และเงินทุน มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อการศึกษา

"ในมุมมองของผม คำว่า "All" ใน Education for All (EFA) หมายถึง คนทุกคน ขณะที่ "All" ใน All for Education (AFE) หมายรวมถึง ทรัพยากรทั้งหมดที่มี สำหรับระบบการศึกษาทั่วโลกในห้วงเวลานี้ กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งกระทบต่อวงการการศึกษาอย่างรุนแรง เพราะการระบาดทำให้หลายประเทศทั่วโลกต้องปิดโรงเรียน มีเด็กนักเรียนหลายล้านคนต้องตกอยู่ในสภาพโดนให้ออกจากโรงเรียน กลายเป็นความเสี่ยงที่จะกระเทือนต่อความเสมอภาคทางการศึกษา และส่งผลลบต่อแนวคิด All for Education ได้ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการปรับเปลี่ยนแนวคิดมุมมองที่มีต่อระบบการศึกษา ด้วยการหันมาร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน ในการคิดและลงมือทำเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาที่มีอยู่ให้มีความยืดหยุ่นพอที่จะทำให้การเดินหน้าศึกษาหาความรู้มีความต่อเนื่องกับตัวผู้เรียนทุกคน ในทุกเงื่อนไขบริบทแวดล้อม" ผู้อำนวยการ UNESCO ประจำประเทศไทย

นายชิเงรุ กล่าวว่า ขอแสดงความชื่นชมกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ของไทยถึงความกระตือรือล้นในการจัดงานดังกล่าวในฐานะเจ้าภาพภายใต้ความร่วมมือกับหลายฝ่าย เพราะนับเป็นการส่งสัญญาณอันดีต่อความพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการปฎิรูปการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มความเสมอภาคของประเทศไทย

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here

Pages