"CIWF" เปิดเผยความจริงที่น่ากลัวในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงปลาแซลมอน - Siam Highlight

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Friday, April 2, 2021

"CIWF" เปิดเผยความจริงที่น่ากลัวในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงปลาแซลมอน


    
ลักษณะผิดรูปร่างการระบาดของปรสิตและอัตราการตายสูงของสัตว์น้ำ: ความดำมืดจากหนึ่งในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกถูกเปิดเผยจากการสืบสวนล่าสุด องค์การพัฒนาเอกชนหรือ NGO เรียกร้องความเมตตาต่อสัตว์น้ำ พร้อมทั้งเผยแพร่ตำราอาหารมังสวิรัติที่ปลอดวัตถุดิบจากสัตว์ทะเล

    การเปิดเผยครั้งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมปลาแซลมอนจากสกอตแลนด์เผยให้เห็นถึงความโหดร้ายที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้างทั้งในระดับอุตสาหกรรมและในพื้นที่เฉพาะถิ่นการฝ่าฝืนกฎหมายสวัสดิภาพสัตว์และอัตราการตายที่น่าตกใจ รายงานการสืบสวนที่ไม่ได้เปิดเผยอย่างเป็นทางการและรายงานประกอบเรื่อง 'กรงใต้น้ำ, ปรสิตและปลาตาย: เหตุใดควรเลื่อนแผนขยายการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนในสกอตแลนด์' ซึ่งได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 มีนาคม โดยเครือข่ายทั่วโลก 30 ประเทศรวมถึง ซิเนอร์เจีย แอนิมอล ประเทศไทย (Sinergia AnimalThailand) องค์กรพิทักษ์สัตว์ระหว่างประเทศ ได้เปิดเผยความจริงที่น่ากลัวเกี่ยวกับปลาจำนวนมากที่ถูกเพาะเลี้ยงในกระชังในชายฝั่งทะเลเพื่อผลิตปลาแซลมอนสกอตแลนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก

    สกอตแลนด์เป็นประเทศผู้ผลิตปลาแซลมอนแอตแลนติกรายใหญ่เป็นอันดับ3 ของโลกโดยส่งออกไปยังกว่า 50 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยและรัฐบาลสกอตแลนด์สนับสนุนแผนการที่จะเพิ่มขนาดอุตสาหกรรมเป็น 2 เท่าภายในปี 2573 มีการตรวจสอบฟาร์มทั้งหมดกว่า 22 ฟาร์ม โดยใช้เทคโนโลยีโดรนและมีฟาร์ม 6 แห่งที่ใช้นักดำน้ำใต้ทะเลในระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2563 ในหลาย ๆ ฟาร์มเหล่านี้ ผู้ตรวจสอบพบการระบาดของเหาทะเลอย่างรุนแรงและเป็นสาเหตุการตายของสัตว์น้ำต่าง ๆ ในระดับสูง

ในกระบวนการสืบสวนซึ่งนำโดยองค์กรการกุศลด้านฟาร์มเลี้ยงสัตว์ Compassion in World Farming International (คอมแพสชั่น อิน เวิรล์ด ฟาร์มมิ่ง อินเตอร์แนชั่นแนล) ผู้ตรวจสอบยังพบว่ามีปลาอัดแน่นอยู่ในกรงใต้น้ำโดยไม่ได้รับการเหลียวแล ซึ่งสัตว์น้ำที่อพยพย้ายถิ่นตามธรรมชาติเหล่านี้ไม่สามารถทำอะไรได้เลยนอกจากว่ายน้ำไปมาอย่างไร้จุดหมายในสภาพคับแคบเป็นเวลานานถึง 2 ปี สัตว์น้ำเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสถึงขนาดที่ว่าจำนวน 1 ใน 4 จะตายลงก่อนถึงเวลาที่มันจะถูกฆ่าด้วยซ้ำ สำหรับประเทศไทยปลาแซลมอนสกอตแลนด์ถูกนำมาทำเป็นอาหารเพื่อเสิร์ฟให้กับลูกค้ากระเป๋าหนักในภัตตาคารและโรงแรมระดับหรูหรา


    
“ปลาแซลมอนต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานอย่างเงียบ ๆ ภายในฟาร์มเพาะเลี้ยงใต้น้ำที่โหดร้ายซึ่งห่างไกลจากผู้คนทั่วสกอตแลนด์ แม้แต่ผู้ตรวจสอบที่มีความช่ำชองก็ยังตกตะลึงกับสิ่งที่ได้พบเห็น” กล่าวโดย วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้จัดการฝ่ายแคมเปญของ ซิเนอร์เจีย แอนนิมอล ประเทศไทย องค์กรพิทักษ์สัตว์ที่อุทิศตนเพื่อต่อสู้กับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่เลวร้ายที่สุดในประเทศ Global South และสนับสนุนวิถีใหม่ในการเลือกรับประทานอาหารที่แสดงออกถึงความมีเมตตาต่อทุกชีวิตให้มากขึ้น ภาพต้นฉบับเผยให้เห็นถึงปลาแซลมอนที่มีรูปร่างผิดปกติ พิกลพิการ และเป็นโรคดวงตาที่หายไปและเนื้อและผิวหนังชิ้นใหญ่ที่ถูกเหาทะเลกัดกินจนแหว่ง นี่เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อย่างสิ้นเชิง ปลาแซลมอนเป็นสัตว์ที่มีความรู้สึก พวกเขาไม่ควรอยู่ภายใต้ความทุกข์ทรมานที่เลวร้ายเช่นนี้ เราต้องดำเนินมาตรการยืดเวลาเพื่อเรื่องการอนุญาตให้มีการขยายการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนสกอตแลนด์ออกไปโดยทันที”

    การเลี้ยงปลาแซลมอนไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพของสัตว์เท่านั้น แต่ยังทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ขยะอินทรีย์และสารเคมีจากฟาร์มปลาแซลมอนสกอตแลนด์กำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของตะกอนต่าง ๆ และฆ่าสิ่งมีชีวิตในทะเลที่อาศัยอยู่ตามก้นทะเลลึก ของเสียจากการทำฟาร์มส่งผลต่อคุณภาพน้ำและเป็นอันตรายต่อการเติบโตของสาหร่าย สารเคมีและยาเช่นยาฆ่าแมลงก็ถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมเช่นกันและสารเคมีเหล่านี้หลายชนิดเป็นที่รู้กันว่าเป็นพิษต่อปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในทะเล รวมถึงนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หากินในแถบนั้น

    การเฉลิมฉลองทั่วโลกสำหรับ “วันยุติการประมงโลก” ในวันที่ 27 มีนาคม เพื่อสร้างความตระหนักรู้ว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อมอย่างไร แคมเปญระดับโลกที่ชื่อว่า “วันยุติการประมงโลก” จะช่วยให้ผู้บริโภคตระหนักถึงการมีจิตสำนึกและความยั่งยืนมากขึ้นในเรื่องการบริโภคปลาและอาหารทะเล ซึ่งแคมเปญนี้ได้เริ่มขึ้นแล้วในประเทศไทยสัปดาห์นี้ องค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากลซิเนอร์เจีย แอนิมอล จะเป็นผู้นำในประเทศไทยเพื่อสานต่อเจตนารมณ์นี้ด้วยการจัดหาสูตรอาหารและแนวคิดง่าย ๆในการสรรหาวัตถุดิบเพื่อทดแทนอาหารทะเลและปลาด้วยผลิตภัณฑ์จากพืช(plant-based option) เพื่อช่วยชีวิตสัตว์และรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)ที่มีสูตรอาหาร15 เมนู และวิธีปรุงวัตถุดิบจากพืชให้มีกลิ่นอายทะเลเหมือนซีฟู้ดโดยสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่https://www.sinergiaanimalthailand.org/veganseafood นอกจากนี้องค์กรฯ จะเผยแพร่สื่อเกี่ยวกับฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาบนเฟซบุ๊กhttps://www.facebook.com/sinergiaanimalthailandและทวิตเตอร์https://twitter.com/sinergia_thaiในช่วงสัปดาห์นี้อีกด้วย


    
“ผู้บริโภคจำนวนมากมีความเชื่อว่าฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีความยั่งยืนมากกว่าการทำประมงในทะเล แต่นี่เป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมหันต์ฟาร์มเลี้ยงปลากุ้งและสัตว์ทะเลประเภทอื่นๆ อาจส่งผลเสียและเป็นอันตรายมากกว่าและยังมีส่วนทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพในมหาสมุทรลดลงอีกด้วย” วิชญะภัทร์ กล่าว

    ในแต่ละปีมีปลาทะเลมากถึง 1.1 แสนล้านตัวถูกจับไปเป็นอาหารให้กับสัตว์น้ำในฟาร์มเพาะเลี้ยงเช่นปลาแซลมอนที่กินเนื้อเป็นอาหารหรือปลานิลที่กินอาหารไม่เลือก ตัวอย่างเช่น จากการประมาณการณ์ทางอุตสาหกรรมพบว่า ในการผลิตแซลมอน 1 กิโลกรัมจำเป็นต้องใช้ปลาราว 800 กรัมเป็นอาหารและตัวเลขนี้ยังไม่ได้นับรวมกับปริมาณการจับสัตว์น้ำพลอยได้ ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลที่จับได้โดยบังเอิญในระหว่างการทำประมงในทะเล

    ซิเนอร์เจีย แอนิมอล ขอเชิญชวนทุกคนที่เป็นห่วงและมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์ ให้ลองคิดทบทวนและพิจารณาถึงสิ่งที่เราทุกคนกำลังเลือกกิน “หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยและผลกระทบเหล่านี้ทั้งหมดแล้วสิ่งสำคัญคือผู้คนต้องรู้ว่าทุกปัญหาล้วนมีทางออก สิ่งที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงอันน่าตระหนกนี้คือ การลด ละ เลิกกินผลิตภัณฑ์จากสัตว์รวมทั้งสัตว์ทะเล และถ้าเลือกได้ เรายังจะให้อาหารเหล่านี้มาอยู่ในจานของเราอีกหรือไม่?” วิชญะภัทร์ ให้คำแนะนำโดยสรุป

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here

Pages