"อปท.นิวส์โพล"เผย พิษโควิดทำคนกรุงหนี้ท่วม วอนรัฐบาลช่วยแก้ปัญหา - Siam Highlight

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Thursday, October 7, 2021

"อปท.นิวส์โพล"เผย พิษโควิดทำคนกรุงหนี้ท่วม วอนรัฐบาลช่วยแก้ปัญหา


    อปท.นิวส์โพล เผยผลสำรวจคนกรุงอ่วม จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 พบรายได้หดหาย หนี้สินท่วมหัว ร้องรัฐบาลช่วยลดดอกเบี้ย-แก้ปัญหาค่าครองชีพ


    รศ.ดร.ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ ที่ปรึกษาสำนัก อปท.นิวส์โพล แถลงข่าวการเปิดตัวสำนัก “อปท.นิวส์โพล” พร้อมเปิดเผยผลสำรวจ ประชาชนในกรุงเทพและปริมณฑล โดยทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “โควิด-19 กับผลกระทบรายได้-หนี้” โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายในการเก็บข้อมูลทางออนไลน์และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กว่า 1,200 ตัวอย่าง ในช่วงวันที่ 23-30 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 32.6 รองลงมาคือกลุ่มผู้มีรายได้ 15,001-30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 28.9 ถัดมาคือกลุ่มรายได้ 50,001 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 21.6 และกลุ่มรายได้ 30,001-50,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 16.9 โดยมีการกำหนดค่าความเชื่อมั่นไว้ที่ร้อยละ 95


    
โดยในคำถามเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่มีผลกระทบต่อรายได้มากน้อยเพียงใด” ส่วนใหญ่ร้อยละ 34.4 ตอบว่ามีผลมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 26 ตอบว่ามีผลมาก ร้อยละ 18.5 ตอบว่ามีผลปานกลาง ร้อยละ 8 ตอบว่ามีผลน้อย


    
เมื่อถามว่า “สถานภาพเงินออมของท่านเป็นอย่างไร” ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่ร้อยละ 49.7 บอกว่าไม่มีเงินออม รองลงมาร้อยละ 45.1 บอกว่ามีเงินออมที่ลดน้อยลง ที่เหลือร้อยละ 5.2 ตอบว่ามีเงินออมเพิ่มขึ้นถามในเรื่อง“หนี้สิน”ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 71.2 บอกว่ามีหนี้สิน ที่เหลือร้อยละ 28.8 บอกว่าไม่มีหนี้ ในกลุ่มที่มีหนี้เมื่อถามว่า “ท่านเป็นหนี้ต่อเดือนเท่าไหร่” ร้อยละ 48.9 ตอบว่ามีหนี้ต่อเดือน 10,000-50,000 บาท รองลงมาร้อยละ 37.4 มีหนี้ต่อเดือนต่ ากว่า 10,000 บาท ถัดมาร้อยละ 7.9 มีหนี้ต่อเดือน 100,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 5.8 มีหนี้ในระดับ 50,001-100,000 บาทต่อเดือน


    
ขณะที่คำถามถึง “แหล่งเงินกู้” ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.9 กู้จากสถาบันการเงินภาคเอกชนรองลงมาเป็นการกู้กับญาติพี่น้องและเพื่อน ร้อยละ 27.1 กู้จากธนาคารออมสินร้อยละ 18.9 กู้จากธนาคารอาคารสงเคราะห์ร้อยละ 12.9 กู้นอกระบบร้อยละ 12.3 และกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร้อยละ 3.9 ถามถึง “ประเภทของหนี้สิน”ส่วนใหญ่เป็นหนี้ผ่อนชำระที่อยู่อาศัย ร้อยละ 41.9 ลองลงมาเป็นหนี้บัตรเครดิต ร้อยละ 40.8 ถัดมาเป็นหนี้ผ่อนยานพาหนะ คิดเป็นร้อยละ 35.5 หนี้อื่นๆร้อยละ 30.8 และหนี้ธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 14.1 ถามว่า “ท่านต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาหนี้อย่างไร” ร้อยละ 43.9 ต้องการให้ลดดอกเบี้ย ถัดมาร้อยละ 27.6 ต้องการให้ปรับสภาพหนี้ ร้อยละ 25.2 ต้องการให้ขยายเวลาช าระหนี้ ที่เหลือต้องการให้ขยายเวลาชำระดอกเบี้ย


    
สุดท้ายถามว่า “ท่านอยากให้รัฐบาลดำเนินการอย่างไรในสภาวะวิกฤติครั้งนี้” ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 55.5 ต้องการให้ลดปัญหาค่าครองชีพลง รองลงมาเป็นการแก้ปัญหาหนี้สิน คิดเป็นร้อยละ 49.1 ถัดมาคือต้องการให้รัฐอนุญาตภาคเอกชนเปิดดำเนินธุรกิจบางอย่างได้ คิดเป็นร้อยละ 34.8 มีผู้ที่ต้องการให้รัฐใช้มาตรการคุมเข้มด้วยการล็อคดาวน์14 วันคิดเป็นร้อยละ 30.3 ในทางกลับกันมีผู้ต้องการให้ผ่อนปรนการล็อคดาวน์ คิดเป็นร้อยละ 21.5 ที่น่าสนใจคือมีร้อยละ 12.7 ที่ต้องการให้รัฐช่วยหางานให้ท าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 มีแนวโน้มผ่อนคลายลงจากการที่ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมากขึ้น


    
อย่างไรก็ตามผลกระทบทางเศรษฐกิจคงไม่สามารถคลี่คลายได้ในระยะเวลาอันสั้นโดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือน ที่ต้องอาศัยความตั้งใจจริงของรัฐบาล การด าเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยความร่วมมือจากสถาบันการเงินทั้งของภาครัฐและเอกชนเพื่อบรรเทาภาระหนี้สินและสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงินแก่สถาบันครอบครัวในระยะยาว


    
ขณะที่ ดร.กำพล มหานุกูล ประธานสำนักโพล อปท.นิวส์ กล่าวว่า “ผลสำรวจนี้เกิดจากความเห็นของการลงพื้นที่สำรวจจริง ผ่านสำนักโพล อปท.นิวส์ ที่นอกเหนือจากการสุ่มตัวอย่างและความคิดเห็นแล้ว ยังมีการตรวจสอบความถูกต้องของผลสำรวจผ่านนักวิชาการ และเป็นไปตามหลักวิชาการอีกถึง 3 ขั้นตอน ซึ่งการสำรวจดังกล่าวจะเป็นการสำรวจรูปแบบใหม่ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เป็น โพลที่เป็นการสำรวจเหมาะสำหรับยุคนิวนอมอล ในการสื่อสารกับผู้ตอบแบบสอบถาม และในการเผยแพร่ โดยผลสำรวจดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่และนำเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหารายได้-หนี้สิน สำหรับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อไป

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here

Pages