กองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมช่วยเกษตรกรแก้หนี้ในระบบและฟื้นฟูอาชีพ - Siam Highlight

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Thursday, June 24, 2021

กองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมช่วยเกษตรกรแก้หนี้ในระบบและฟื้นฟูอาชีพ


    
นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยว่า สำหรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาหนี้สินจากการกู้เงินในระบบ เช่น การกู้จากสถาบันการเงินต่างๆ และไม่มีความสามารถใช้หนี้คืนได้ สามารถขอรับความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาหนี้ได้จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ กฟก.ซึ่งมีภารกิจสำคัญ คือ การจัดการหนี้และการฟื้นฟูอาชีพ ทั้งนี้เกษตรกรที่สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามารถทำได้โดยการยื่นขึ้นทะเบียนกับกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งวิธีการและขั้นตอนการสมัครที่ไม่ยุ่งยาก ขอเพียงมีคุณสมบัติตามที่ระเบียบกำหนด เช่น หากยื่นขึ้นทะเบียน ต้องเป็นเกษตรกร ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมต้องมีเกษตรกรรวมกลุ่มกัน ตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป มีระเบียบข้อบังคับการดำเนินงานของกลุ่มอย่างชัดเจน รวมทั้งได้ดำเนินกิจกรรมกลุ่มอย่างต่อเนื่องเป็นต้นสำหรับสถานที่สมัครขอขึ้นทะเบียนสามารถติดต่อได้ทั้งที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร หรือ ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯสาขาจังหวัด ซึ่งมีอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ


    
“ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ มีสมาชิกที่อยู่ในรูปองค์กรเกษตรกร ประมาณ 50,000 กว่ากลุ่ม คิดเป็นเกษตรกรสมาชิกทั้งหมดเกือบ 6,000,000 คนซึ่งสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูฯจะได้รับสิทธิประโยชน์คือ ได้รับการช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินกรณีที่เป็นหนี้ในระบบกับสถาบันการเงินที่กองทุนฟื้นฟูฯกำหนดอีกทั้งจะได้รับการส่งเสริมด้านการฟื้นฟูอาชีพเพื่อให้มีรายได้ในการชำระหนี้และใช้จ่ายในครอบครัวด้วยการยื่นโครงการขอสนับสนุนในรูปองค์กรสมาชิก” นายสมยศ กล่าว


    
นายสมยศ กล่าวต่อไปว่าเมื่อได้รับการอนุมัติให้เข้าเป็นสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูฯแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนหนี้ ซึ่งต้องยื่นเอกสารประกอบตามที่กำหนด โดยขณะนี้มีเกษตรกรสมาชิกขึ้นทะเบียนหนี้ไว้ถึง 500,000 กว่ารายขณะที่ขึ้นทะเบียนหนี้ในรูปองค์กรสมาชิกจำนวนกว่า 50,000 กลุ่มที่ผ่านมา กองทุนฟื้นฟู ฯ สามารถจัดการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกรสมาชิกเป็นผลสำเร็จได้ในระดับที่น่าพึงพอใจทำให้เกษตรกรสมาชิกทั่วประเทศได้ที่ดินทำกิน ซึ่งนำไปใช้เป็นหลักค้ำประกันหนี้กลับคืนมาเป็นของตนเองเช่นเดิมซึ่งในจัดการหนี้ให้สมาชิกนั้น ตามระเบียบปัจจุบันได้กำหนดไว้ที่ รายละ 5 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2564นี้ ได้ตั้งงบประมาณเพื่อใช้ในการซื้อหนี้ไว้ที่ 700 ล้านบาท


    
“ขณะที่ด้านการฟูฟื้นฟูอาชีพเช่นกัน ได้มีการอนุมัติงบสนับสนุนโครงการอาชีพตามที่องค์กรสมาชิกยื่นเสนอแล้วถึง 553 โครงการ เป็นเงินกู้ยืม 303.78 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นงานที่กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นไปตามภารกิจและเจตนารมณ์ในการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูฯ ดังนั้นเกษตรกรที่ยังไม่ได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนสมาชิก สามารถดำเนินการได้โดยตลอดที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาในจังหวัดที่เกษตรกรอาศัยอยู่“ นายสมยศ กล่าวปิดท้าย

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here

Pages