ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5-4 วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของ “เศรษฐา ทวีสิน” สิ้นสุดลง ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อ เหตุขาดคุณสมบัติในความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ จากกรณีแต่งตั้ง “พิชิต ชื่นบาน” เป็นรัฐมนตรี และทำให้รัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย กรณีประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่
โดยผลการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 เคยต้องโทษในคดีมอบถุงขนม 2 ล้านบาท ให้เจ้าหน้าที่ธุรการศาล ระหว่างการพิจารณาคดีที่ดินรัชดาฯ ของศาลฎีกาคดีแผนกอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และถูกจำคุก 6 เดือน และถูกสภาทนายความลบชื่อออกจากทะเบียนสภาทนายความแล้ว
ส่วนผู้ถูกร้องที่ 1 ศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ต้องทราบประวัติและทราบคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ถูกร้องที่ 2 จึงเห็นว่าแม้จะมีสอบถามเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีและได้ปรึกษาสำนักงานกฤษฎีกาแล้ว แต่ยังเสนอชื่อ ผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรี ย่อมปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ และข้ออ้างที่โต้แย้งที่บอกว่าเป็นนักธุรกิจมาก่อนไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองย่อมรับฟังไม่ได้ และเมื่อผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรีและนำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูล ถือว่าจึงขาดคุณสมบัติในความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ อีกทั้งคนเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเลือกสรรบุคคลที่น่าไว้ใจได้มาดำรงตำแหน่ง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา สิ้นสุดลง
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (5 ต่อ 4) วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 สิ้นสุดลงลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) เนื่องจากไม่มีความชื่อสัตย์ สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (5)
เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) แล้ว รัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 167 วรรคหนึ่ง (1) โดยให้นำมาตรา 168 วรรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต่อไป
โดยผลการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 เคยต้องโทษในคดีมอบถุงขนม 2 ล้านบาท ให้เจ้าหน้าที่ธุรการศาล ระหว่างการพิจารณาคดีที่ดินรัชดาฯ ของศาลฎีกาคดีแผนกอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และถูกจำคุก 6 เดือน และถูกสภาทนายความลบชื่อออกจากทะเบียนสภาทนายความแล้ว
ส่วนผู้ถูกร้องที่ 1 ศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ต้องทราบประวัติและทราบคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ถูกร้องที่ 2 จึงเห็นว่าแม้จะมีสอบถามเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีและได้ปรึกษาสำนักงานกฤษฎีกาแล้ว แต่ยังเสนอชื่อ ผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรี ย่อมปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ และข้ออ้างที่โต้แย้งที่บอกว่าเป็นนักธุรกิจมาก่อนไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองย่อมรับฟังไม่ได้ และเมื่อผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรีและนำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูล ถือว่าจึงขาดคุณสมบัติในความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ อีกทั้งคนเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเลือกสรรบุคคลที่น่าไว้ใจได้มาดำรงตำแหน่ง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา สิ้นสุดลง
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (5 ต่อ 4) วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 สิ้นสุดลงลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) เนื่องจากไม่มีความชื่อสัตย์ สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (5)
เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) แล้ว รัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 167 วรรคหนึ่ง (1) โดยให้นำมาตรา 168 วรรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต่อไป
No comments:
Post a Comment