ไทยพีบีเอส จัดเต็ม เข้มข้นทุกเรื่อง DATA กับงาน The Visual Talk: DATA is All Around - Siam Highlight

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Monday, November 18, 2024

ไทยพีบีเอส จัดเต็ม เข้มข้นทุกเรื่อง DATA กับงาน The Visual Talk: DATA is All Around


    ไทยพีบีเอส จัดเต็ม เน้นย้ำความสำคัญด้าน DATA เปิดพื้นที่นำข้อมูลและแนวคิดการใช้ประโยชน์จาก DATA แบบเจาะลึกจากผู้เชี่ยวชาญ กับงาน The Visual Talk: DATA is All Around พร้อมชมนิทรรศการในรูปแบบ interactive 5 ผลงานเด่นจาก The Visual By Thai PBS

    เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ ไทยพีบีเอส จัดงาน The Visual Talk ภายใต้แนวคิด “DATA is All Around” เพื่อสร้างการรับรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิดการนำข้อมูล (DATA) ไปใช้ในการพัฒนารูปแบบการสื่อสารให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

    รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส กล่าวว่า “งาน The Visual Talk DATA is All Around เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญของภารกิจสื่อสาธารณะของไทยพีบีเอส ที่จะไม่เป็นเพียงแค่ “สื่อ” ที่ทำหน้าที่เสนอข่าวเท่านั้น เรายังนำเสนอข้อมูล สาระความรู้ที่สังคมให้ความสนใจผ่านรูปแบบของ Data Visualization เปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น ผ่านกระบวนการ Data Journalism ด้วยรูปแบบที่น่าสนใจ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ชมกับแพลตฟอร์มออนไลน์ของไทยพีบีเอส และยังเป็นการขยายฐานผู้ชมกลุ่มใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์เนื้อหาและต่อยอดทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างความตระหนัก และเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคม นำไปสู่การหาทางออกของปัญหา”


    คุณกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส กล่าวถึงความพิเศษของ The Visual by Thai PBS อีกหนึ่งนวัตกรรมสื่อของการนำเสนอเนื้อหา และการสะท้อนประเด็นทางสังคมผ่านเว็บไซต์ www.thaipbs.or.th/TheVisual ว่า “The Visual เป็นบริการที่ออกแบบมาภายใต้แนวคิด "Making DATA Visible" เข้าใจทุกเรื่องราวด้วยข้อมูล ด้วยกระบวนการทาง Data Journalism หรือ วารสารศาสตร์ข้อมูล มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากในมิติต่าง ๆ ทุกรูปแบบสื่อ ในหลากหลายวิธี ทั้งจากฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ การทดลองกลุ่มตัวอย่าง และการสัมภาษณ์ ผ่านการวิเคราะห์ แปลงข้อมูลที่ซับซ้อนในรูปแบบต่าง ๆ ให้กลายเป็นเรื่องเล่าที่เข้าใจง่าย (Storytelling) รวมถึงผสมผสานการสร้างสื่อปฏิสัมพันธ์เชิงตอบโต้ หรือ Interactive เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมอย่างน่าสนใจ ปัจจุบัน The Visual นำเสนอเนื้อหาประเด็นสะท้อนสังคมใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ ความเท่าเทียม (Equality), สิ่งแวดล้อม (Green), สังคมเมือง (Urban) และ วัฒนธรรม (Culture)”

    ในส่วนของเวทีทอล์ก The Visual Talk: DATA is All Around ได้เชิญ 6 ผู้เชี่ยวชาญด้าน Data แถวหน้าของเมืองไทย มาร่วมบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญและประโยชน์ของการนำ Data ไปใช้ เพื่อเพิ่มมุมมองในมิติอุตสาหกรรมและเนื้อหาด้านต่าง ๆ โดยเริ่มจาก


    คุณกล้า ตั้งสุวรรณ CEO บริษัท ไวท์ไซต์ ประเทศไทย จำกัด ในหัวข้อ “Speak it, Trend it with DATA พลังของคีย์เวิร์ดในการกำหนดทิศทางสังคม” ว่า “ข้อมูล” เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในเรื่องการวางนโยบาย และคาการณ์ทิศทางของเศรษฐกิจ สามารถคาดการณ์กระแส ประเมินผลกระทบ หรือ เทรนด์ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปได้ ทำให้เป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดทิศทางการผลิต และบริโภคคอนเทนต์ของสื่อหรือสังคมได้

    ดร.วินน์ วรวุฒิคุณชัย CEO Botnoi Group ในหัวข้อ “How Generative AI Democratizes Data Science ยุค Gen AI.. เมื่อใคร ๆ ก็ทำ Analytics ได้” ว่า “ข้อมูลหลายมิติ” มีมุมมองในการวิเคราะห์ที่หลากหลาย และมีปัจจัยมากมายที่ต้องนำมาวิเคราะห์ร่วม สิ่งนี้คือสิ่งที่ Data Science และ AI จะเข้ามาช่วยให้ข้อมูลหลายๆ มิติ เกิดการ Action อยู่ในแบบรูปแบบมุมมองที่ยุบลงเป็นข้อมูลที่พอจะทำนายว่า เมื่อมีปัจจัยใดๆ เข้ามาแล้ว มักจะเกิดเหตุการณ์ใดๆ ต่อไป และเป็นแนวให้ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้หัดสงสัยและตั้งคำถาม นำไปวางแผนงานที่มีความเป็นไปได้กับความเป็นจริง และลดความผิดพลาดลง


    ดร.อสมา กุลวานิชไชยนันท์ CEO & Co-Founder บริษัท คอราไลน์ จำกัด ในหัวข้อ “DATA-Driven World เมื่อโลกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล” ว่าหากต้องการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนได้ด้วยข้อมูล หรือ Data-Driven สิ่งแรกที่จะต้องทำ คือ Data Governance มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเรื่องของการบริหารจัดการคุณภาพและโครงสร้างของข้อมูล เพื่อการได้มาซึ่ง Data Visualization ที่จะนำไปประกอบให้ผู้นำข้อมูลไปใช้เห็นภาพและตั้งคำถามถึงเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้ข้อมูลแสดงออกมาลักษณะนี้

    คุณณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในหัวข้อ “Decoding with DATA Structure โจทย์ท้าทายการเชื่อมโยงข้อมูลสู่การใช้จริง” ว่าข้อมูลภาครัฐที่ดี ควรต้องมีการจัดโครงสร้างข้อมูล และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส จึงจะสามารถดึงประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งการนำข้อมูลไปเชื่อมต่อวิเคราะห์ให้กับหน่วยงาน รวมถึงการจัดรัฐสวัสดิการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้ ทำให้เป็นศูนย์กลางอำนาจและข้อมูลของประเทศได้อย่างดียิ่งขึ้น

    คุณอาทิตยา บุญรัตน์ ทีม กทม. ในหัวข้อ “Empowering Connections with DATA สื่อสารข้อมูลผ่าน Visual เพื่อกลุ่มคนที่หลากหลาย” โดยสรุปว่า ก่อนที่เราจะเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาเมือง ควรต้องเชื่อมต่อข้อมูลกับประชาชนคนในเมืองก่อน กว่า 7 แสนเรื่อง ที่ถูกแจ้งปัญหาผ่าน Traffy Fondue เป็นข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนเชื่อว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข และสามารถตรวจสอบผลการทำงานได้ สิ่งนี้คือการเชื่อมต่อกับประชาชนคนในเมืองเบื้องต้น ที่สามารถสร้างมูลค่าของข้อมูลที่เรียกว่า Active Data เมื่อเราได้ส่วนนี้มาก็จะสามารถสร้างเป็น Data Visualization ท้ายที่สุดก็จะเห็นว่าปัญหาอยู่ที่ไหน วิธีการดีจะสื่อสารให้ได้ตรงใจ ทำให้การดำเนินนโยบายมีโอกาสจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี


    คุณกษิดิศ สตางค์มงคล เจ้าของเพจ DATARockie ในหัวข้อ “The Maker’s DATA Journey เบื้องหลังออกแบบข้อมูลให้ตรงจุด” ว่า การทำ Data Science สำคัญที่สุด คือ การตั้งคำถามที่ดี ถ้าตั้งคำถามผิด เราจะได้ผลลัพธ์ที่ผิด การสื่อสารที่ทรงพลังต้องมาพร้อมกับ Insight และ Data เพราะถ้าไม่มีข้อมูลมาสนับสนุน ก็เป็นแค่ ความเห็นเพียงอย่างเดียว ทอยเพิ่งค้นพบว่า ชีวิตของเราทุกคนคือการตั้งคำถาม แต่การใช้ชีวิตของเราคือคำตอบ คำถามที่ดีจะนำไปสู่สิ่งใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม ถ้าทำสิ่งเดียวซ้ำ ๆ แต่คาดหวังผลลัพธ์ต่างจากเดิม ไอน์สไตน์บอกว่า ไม่บ้าก็โง่

    นอกจากนี้ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสงาน Data Journalism ในแบบ Visualization โดยตรง ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการ 5 เรื่องเด่นในมิติใหม่ของการนำเสนอเนื้อหาแบบอินเตอร์แอคทีฟ และการสะท้อนประเด็นของสังคมผ่าน The Visual by Thai PBS


    บูธที่ 1: The Bag (สัม) ภาระหนัก บนบ่าเด็ก การสะท้อนปัญหาใกล้ตัวเด็กและเยาวชน จากข้อมูลที่พบว่า ช่วงวัยที่สะพายกระเป๋านักเรียนหนัก คือ 7-9 ขวบ หรือ ป.1-ป.3 จะมีผลกระทบอย่างไร และแนวทางในการแก้ไขได้อย่างไร ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ABU (Asian-Pacific Broadcasting Union) Prizes 2024 ณ ประเทศตุรกี เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา https://thevisual.thaipbs.or.th/equality/thebag

    บูธที่ 2: Thrones of Thorn ศึกชิงบัลลังก์ราชาหนาม ปอกเรื่องราวใต้เปลือกทุเรียนไทย ปอกเรื่องราวใต้เปลือกทุเรียนไทย พาย้อนประวัติศาสตร์ “ทุเรียนไทย” มาจากที่ใด กว่าจะมาเป็นผลไม้ที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน https://thevisual.thaipbs.or.th/culture/durian


    บูธที่ 3: "เธอ" ไม่เปลี่ยนแปลง "ร้อน" นี้...จึงเปลี่ยนไป เปรียบเทียบสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ให้เห็นว่าเป็นเรื่องจริง หรือแค่ Feel like และมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญแค่ไหนกับการเปลี่ยนแปลงนี้ https://thevisual.thaipbs.or.th/green/heatwave

    บูธที่ 4: "นกเงือก" นักปลูกป่า ผู้คลั่งรัก ข้อมูลวิเคราะห์ถึงบทบาทสำคัญของนกเงือกที่เกิดจากพฤติกรรมการกินผลไม้สุกและทิ้งเมล็ด ช่วยกระจายพันธุ์ไม้ และเพิ่มพื้นที่ป่าได้เพียงใด https://thevisual.thaipbs.or.th/green/hornbill_lovestory

    บูธที่ 5: วัยเด็ก วันเด็ก กับ "ความหวัง" ที่ผู้ใหญ่อยากให้เป็น การรวบรวมข้อมูลคำขวัญวันเด็กของนายกรัฐมนตรีฯ แต่ละสมัย มาถอดรหัสคำขวัญวันเด็กแต่ละยุคสมัย ผู้ใหญ่คาดหวังอะไรในตัวเด็ก? คำขวัญในแต่ละยุคสมัยสัมพันธ์กับสถานการณ์ของประเทศเพียงใด? https://thevisual.thaipbs.or.th/culture/kidsday

    สามารถติดตามชมสดและย้อนหลัง รวมถึงเนื้อหาของงานได้ที่ www.thaipbs.or.th/TheVisualTalk2024 และชมเนื้อหาอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก The Visual By Thai PBS ได้ที่ www.thaipbs.or.th/TheVisual

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here

Pages