เพื่อความปลอดภัย ป้องกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า สารเสพติด อุบัติเหตุ และการพนันออนไลน์ หวังให้เป็นธรรมนูญปกป้องเยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชต่อไป
เมื่อเร็วๆ นี้ เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนบน จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดเวที ลงนามบันทึกข้อตกลง ธรรมนูญสถานศึกษาปลอดภัยป้องกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า น้ำกระท่อม สารเสพติด การพนันออนไลน์ อุบัติเหตุ และ อนามัยเจริญพันธุ์ ในเด็ก-เยาวชนจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีภาคีเข้าลงนามความร่วมมือ จำนวน 25 หน่วยงาน ณ ห้องประชุมโรงแรมปุระนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
นายแพทย์อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า “ธรรมนูญสุขภาพสถานศึกษา” เป็นกรอบทิศทางหรือข้อตกลงร่วมที่จะนำไปสู่เป้าหมายการปกป้องเด็กเยาวชนจากปัจจัยเสี่ยงแบบมีส่วนร่วม โดยชุมชน โรงเรียน ผู้ปกครอง และคนที่เกี่ยวข้องเป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งชุมชนจะเป็นกลไกสำคัญ ทั้งนี้จังหวัดนครศรีธรรมราชจะเป็นจังหวัดนำร่องที่ใช้ธรรมนูญสุขภาพสถานศึกษาในพื้นที่เขต 11 เพื่อเป็นพื้นที่กลางในการสานพลังของทุกภาค ในการปกป้องเด็ก-เยาวชน ซึ่งตนในฐานะลูกหลานคนนครฯ มีความภาคภูมิใจและร่วมสนับสนุนการดำเนินงานในครั้งนี้รวมถึงเป็นกำลังใจให้ทุกองค์กรที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงกันวันนี้
ด้าน นายกันตนัช รัตนวิก ผู้แทนเครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนบน และสมาคมเพื่อนเยาวชนและพัฒนาสังคมภาคใต้ตอนบนกล่าวว่า สืบเนื่องจากเวที สมัชชาสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราชทาง สมาคมฯร่วมกับองค์กรเครือข่ายนำเสนอประเด็นปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบายกับผู้ว่าราชการจังหวัดใน 4 ประเด็นสำคัญด้านเด็ก-เยาวชนคือ ประเด็นปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ประเด็นปัญหาสารเสพติด, ประเด็นปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า และ ปัญหาอนามัยเจริญพันธ์ ด้วยข้อมูลจากศูนย์วิจัยปัญหาสุราปี 64 จังหวัดนครฯดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันดับที่ 72 และในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-19ปี ดื่มร้อยละ 4.6 ทางเครือข่ายองค์กรงดเหล้าร่วมกับศึกษาจังหวัดจึงได้สำรวจนักเรียนอายุ 13-15ปี จำนวน 1,900 คนใน 63 โรงเรียนจาก 18 อำเภอ พบว่าเคยดื่มเหล้า/เบียร์ 38.2% ดื่มอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง38.2% ดื่มจนเมา89.7% และเมาครองสติไม่ได้10.3%
ในขณะที่ข้อมูลปี 66 จากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่11จังหวัดนครศรีธรรมราชพบเด็กอายุ 15-24 ปีติดเชื้อ HIV จำนวน 8,896 คน มากที่สุดในเขต 11 อีกทั้งเด็กต้องออกจากระบบการศึกษา 13,788 คนในนี้มีเด็กที่ออกจากระบบการศึกษาช่วงระดับประถมศึกษา 1,336 คนทางเครือข่ายจึงประสานความร่วมมือกับทุกกลไกเพื่อเร่งป้องกันปัญหาโดยจะทดลองปฎิบัติการในพื้นที่ 8 อำเภอนำร่องภายใต้เครื่องมือ ธรรมนูญสถานศึกษาปลอดภัย ที่จะมีโรงเรียนเป็นหน่วยจัดการภายใต้ความร่วมมือกับ อสม.และชุมชนรอบโรงเรียน
ในขณะที่ นายรวยยิ่ง สังกรด ชมรมอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. กล่าวว่า อสม.ในทุกชุมชนและมีภารกิจหลักคือ การสำรวจ จัดทำข้อมูล และ ดูแลด้านสุขภาพของประชาชนอยู่แล้ว แต่ด้วยหลายปัจจัยบางปัญหาจึงไม่ได้ถูกแก้ในชุมชน การจับมือกันของ ภาคส่วนต่างๆในการแก้ปัญหา เหล้า บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า น้ำกระท่อม สารเสพติด การพนันออนไลน์ อุบัติเหตุ และ อนามัยเจริญพันธุ์ ในเด็ก-เยาวชนจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเป็นเรื่องดีมาก และ ในทุกอำเภอทาง อสม.จะเป็นแรงหนุนสำคัญในการร่วมภารกิจนี้อย่างเข้มข้นเพื่อเป้าหมายการปกป้องเด็กเยาวชนจังหวัดนครศรีธรรมราชทุกคน
ในการลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ประกอบด้วย 25 หน่วยงาน ที่เข้าร่วม ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.), ศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.), บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครศรีธรรมราช, สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครศรีธรรมราช, เครือข่ายยุวทัศน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสังคมและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช, มูลนิธิรักษ์ไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช, ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครศรีธรรมราช, ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน, สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สสส.), สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช (พมจ.), ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช, ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช, ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช, สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช, เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช, ศูนย์ควบคุมป้องกันสารเสพติดและปัจจัยเสี่ยงจังหวัดนครศรีธรรมราช, ตำรวจภูธร จังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 สุราษฎร์ธานี และ ท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช อีกด้วย
ในขณะที่ นายรวยยิ่ง สังกรด ชมรมอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. กล่าวว่า อสม.ในทุกชุมชนและมีภารกิจหลักคือ การสำรวจ จัดทำข้อมูล และ ดูแลด้านสุขภาพของประชาชนอยู่แล้ว แต่ด้วยหลายปัจจัยบางปัญหาจึงไม่ได้ถูกแก้ในชุมชน การจับมือกันของ ภาคส่วนต่างๆในการแก้ปัญหา เหล้า บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า น้ำกระท่อม สารเสพติด การพนันออนไลน์ อุบัติเหตุ และ อนามัยเจริญพันธุ์ ในเด็ก-เยาวชนจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเป็นเรื่องดีมาก และ ในทุกอำเภอทาง อสม.จะเป็นแรงหนุนสำคัญในการร่วมภารกิจนี้อย่างเข้มข้นเพื่อเป้าหมายการปกป้องเด็กเยาวชนจังหวัดนครศรีธรรมราชทุกคน
ในการลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ประกอบด้วย 25 หน่วยงาน ที่เข้าร่วม ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.), ศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.), บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครศรีธรรมราช, สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครศรีธรรมราช, เครือข่ายยุวทัศน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสังคมและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช, มูลนิธิรักษ์ไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช, ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครศรีธรรมราช, ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน, สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สสส.), สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช (พมจ.), ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช, ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช, ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช, สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช, เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช, ศูนย์ควบคุมป้องกันสารเสพติดและปัจจัยเสี่ยงจังหวัดนครศรีธรรมราช, ตำรวจภูธร จังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 สุราษฎร์ธานี และ ท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช อีกด้วย
No comments:
Post a Comment