"ไทยพีบีเอส"จับมือ"ตำรวจไซเบอร์" ยกระดับเตือนภัยออนไลน์ ฉีดวัคซีนไซเบอร์ทำงานเชิงรุก - Siam Highlight

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Responsive Ads Here

Wednesday, May 29, 2024

"ไทยพีบีเอส"จับมือ"ตำรวจไซเบอร์" ยกระดับเตือนภัยออนไลน์ ฉีดวัคซีนไซเบอร์ทำงานเชิงรุก


    
ร่วมเป็นเครือข่ายทำงานเชิงรุก ป้องกันภัยออนไลน์ หวังประชาชนไม่ตกเป็นเหยื่อ กระตุ้นภาคีเครือข่ายร่วมแก้ปัญหาจริงจัง


    เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ จัดสัมมนา “โครงการพัฒนาระบบรับแจ้งความออนไลน์ คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี” ซึ่งมีภาคีเครือข่ายหลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาสาธารณะ (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส โดยรายการสถานีประชาชน หนึ่งในภาคีเครือข่ายความร่วมมือเตือนภัยป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ เข้าร่วมเสวนาเพื่อร่วมหาทางออกในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และมี นางสาวธิดารัตน์ อนันตรกิตติ พิธีกรรายการสถานีประชาชน ไทยพีบีเอส เป็นผู้ดำเนินการเสวนา


    
พล.ต.ท.วรวฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวว่า การผลักดันให้เกิดพระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ส่งผลให้สถิติคดีออนไลน์ลดลง 200 เรื่องต่อวัน จากเดิมมีผู้เสียหายแจ้งความ ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 22 พฤษภาคม 2567 จำนวน 558,716 เรื่อง เฉลี่ย 672 เรื่องต่อวัน ความเสียหายเฉลี่ย 91 ล้านบาทต่อวัน


    
การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center: AOC) หรือ AOC 1441 ซึ่งเปิดให้บริการสำหรับประชาชนที่พบปัญหาด้านภัยออนไลน์ AOC เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 สามารถช่วยระงับธุรกรรม/อายัดบัญชีม้าได้ทันที ช่วยคืนเงินให้ประชาชนรวดเร็วขึ้น ติดตามสถานะคดีได้ดีขึ้น ช่วยให้เจ้าหน้าที่มีข้อมูลที่ดี รวดเร็วและจับคนร้ายได้เร็วขึ้น

    “รัฐบาลเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาการภัยออนไลน์ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ลำดับความสำคัญให้เป็น หนึ่งในปัญหาที่ต้องต้องจัดการเร่งด่วน โดยได้มีการประสานขอความร่วมมือกระทรวง หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง” พล.ต.ท.วรวฒน์ กล่าว


    
สำหรับ “โครงการพัฒนาระบบรับแจ้งความออนไลน์ คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี” เป็นระบบที่ให้บริการและอำนวยความสะดวกสำหรับประชาชนในการเข้าถึงการแจ้งความและการดำเนินคดีได้ อย่างรวดเร็ว ประชาชนสามารถแจ้งความผ่านทางออนไลน์ได้ทันที ผ่านเว็บไซต์

    ทางด้าน นางกานดา จำปาทิพย์ บรรณาธิการรายการสถานีประชาชน กล่าวว่า ไทยพีบีเอส ได้ประกาศยกระดับการทำงานแก้ปัญหาภัยออนไลน์ ตั้งแต่ปี 2566 โดยทำหน้าที่เตือนภัยให้ความช่วยเหลือติดตามคดีให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากการถูกหลอกลวงในคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เช่น คดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การหลอกลวงออนไลน์ทางด้านการเงิน, หรือหลอกลวงจำหน่ายสินค้าออนไลน์ ไม่เฉพาะในรายการสถานีประชาชนเท่านั้น แต่เราทำทั้งงานอออนไลน์และออนกราวในรูปแบบเชิงลึก และรุก เป้าหมายคือ อยากให้คนไทยรู้เท่าทันภัยออนไลน์ หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อน้อยลง เพราะหากถูกหลอกได้รับความเสียหายแล้วรอการเฉลี่ยทรัพย์ก็จะช้ามาก การป้องกันจึงดีกว่าแก้ไขที่ปลายเหตุ 


    สำหรับพื้นที่ของรายการสถานีประชาชน ทำงานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่งต่อประเด็นความเสียหายประสานไปยังตำรวจ ขณะเดียวกันยังทำงานเชิงรุกโดยการลงพื้นที่สัญจร ม.ศรีปทุม ม.ธุรกิจบัณฑิต ม.กรุงเทพ ที่ตอบรับแล้ว นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยจะจัดกิจกรรมอบรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากพื้นที่รอบไทยพีบีเอส เช่น เขตหลักสี่ เขตจตุจักร เพื่อให้ความรู้กับประชาชนอีกด้วย

    “รายการสถานีประชาชน”เป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการทำหน้าที่สื่อสาธารณะที่เป็นมากกว่าสถานีโทรทัศน์ของไทยพีบีเอส (More than TV) ในการยกระดับการช่วยป้องกันภัยออนไลน์ “คนไทยต้องไม่ถูกหลอก” สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชน และชักชวนภาคีเครือข่ายร่วมแก้ปัญหาจริงจัง ติดตามรับชมรายการ “สถานีประชาชน” วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14:05 – 15:00 น. ทางไทยพีบีเอส หมายเลข 3 หรือติดตามชมอีกครั้งได้ที่ https://www.thaipbs.or.th/program/People


    
สามารถติดตามไทยพีบีเอสทุกช่องทางออนไลน์ ได้ที่

▪ Website : www.thaipbs.or.th

▪ Application : Thai PBS

▪ Social Media Thai PBS : Facebook, YouTube, X , LINE, TikTok, Instagram, Threads, Linkedin

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here

Pages